เครื่องหมายสัญลักษณ์บนพื้นทางและสีบนขอบทาง

เส้นแบ่งทิศทางจราจรปกติ
(เป็นเส้นประสีขาว ขนาดกว้าง 15 เซนติเมตร ยาว 200 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 200 เซนติเมตร) ให้ขับรถในด้านซ้าย เลี้ยวขวาหรือแซงหน้ารถคันอื่นได้เมื่อปลอดภัย
เส้นแบ่งทิศทางจราจรเตือน
(เป็นเส้นประสีขาว ขนาดกว้าง 15 เซนติเมตร ยาว 300 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 100 เซนติเมตร)
ให้ทราบว่าจะถึงเขตทางข้าม แยก เขตห้ามแซง เว้นแต่จะเปลี่ยนเส้นทางเดินรถ หรือกลับรถ ขับข้ามเส้นได้แต่ต้องระวังเป็นพิเศษ
(สังเกตุดูจะเห็นว่าเส้นจะยาวกว่า เส้นแบ่งทิศทางจราจรปกติ)
เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซง
(เส้นทึบสีขาว ขนาดกว้าง 15 เซนติเมตร )
ห้ามแซงหรือขับรถผ่านคร่อมเส้นโดยเด็ดขาด
เส้นแบ่งทิศทางจราจร คู่ 
(เส้นประคู่เส้นทึบ)”เป็นเส้นทึบสีขาว ขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ขนานไปกับเส้นประสีขาวขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 200 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 200 เซนติเมตร เส้นทั้งสองมีระยะห่างกัน 15 เซนติเมตร”
รถทางเส้นประอาจข้ามหรือแซงได้เมื่อปลอดภัย
เส้นแบ่งทิศทางจราจร คู่
(เส้นทึบคู่เส้นประ)”เป็นเส้นทึบสีขาว ขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ขนานไปกับเส้นประสีขาวขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 200 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 200 เซนติเมตร เส้นทั้งสองมีระยะห่างกัน 15 เซนติเมตร”
รถทางเส้นทึบห้ามแซง ขับรถผ่าน หรือคร่อมเส้นโดยเด็ดขาด
เส้นแบ่งทิศทางจราจร ห้ามแซงคู่
(เส้นทึบคู่)(เป็นเส้นทึบสีขาว ขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ขนานกันมีระยะห่างระหว่างเส้น 15 เซนติเมตร)
ห้ามขับรถผ่าน ขับรถคร่อมเส้น ห้ามแซงโดยเด็ดขาดทั้งสองทิศทาง
เส้นแบ่งช่องเดินรถปกติ
(เป็นเส้นประสีขาว ขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 100 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 300 เซนติเมตร )
ให้ขับรถในช่องเดินรถ ห้ามขับคร่อมเส้นหรือทับเส้น เว้นแต่จะเปลี่ยนช่องเดินรถหรือกลับรถ
เส้นแบ่งช่องเดินรถเตือน
หมายความว่า เส้นแบ่งช่องเดินรถประเภทเตือนเป็นเส้นประสีขาว ขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 300 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 100 เซนติเมตร แสดงให้ทราบว่าใกล้จะถึงเส้นแบ่งช่องเดินรถห้ามแซง ห้ามขับคร่อมเส้นช่องเดินรถ เว้นแต่จะเปลี่ยนช่องเดินรถ
เส้นแบ่งช่องเดินรถห้ามแซง
(เป็นเส้นประสีขาว ขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร)
ห้ามแซงโดยเด็ดขาด ห้ามขัลรถผ่านหรือคร่อมเส้น หรือกลับรถ
เส้นขอบทาง
(เส้นประสีขาว ขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 60 เซนติเมตร)
ให้ขับรถในช่องทางจราจรด้านขวาของเส้น
เส้นแบ่งเดินรถประจำทาง
(เส้นทึบสีเหลืองขนาดกว้าง 20 เซนติเมตร)
รถประจำทางหรือรถบรรทุกคนโดยสารที่อธิบดีกรมตำรวจกำหนด ให้ใช้ช่องทางเดินรถด้านซ้ายของเส้นนี้ รถประเภทอื่นห้ามขับผ่านเข้าไปในช่องนี้
เส้นแบ่งภายในช่องเดินรถประจำทาง
ให้รถประจำทางหรือรถที่กำหนดวิ่งในช่องทางได้ทั้ง 2 ช่อง ทั้งซ้ายและขวาของเส้นนี้
เส้นแบ่งช่องเดินรถประจำทางสามารถข้ามผ่านได
(เส้นทึบสีเหลืองขนาดกว้าง 20 เซนติเมตร ยาว 60 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 30 เซนติเมตร)
รถประจำทางหรือรถบรรทุกคนโดยสารที่อธิบดีกรมตำรวจกำหนด ให้ใช่ช่องเดินรถทางด้านซ้าย ของเส้นนี้ รถประเภทอื่นให้ขับผ่านได้กรณีจะเข้าออกจากซอยหรือเลี้ยว
จุดเริ่มต้นช่องเดินรถประจำทาง
รถประจำทางหรือรถบรรทุกคนโดยสารที่อธิบดีกรมตำรวจกำหนด ให้ผ่านเข้าไปในช่องเดินรถประจำทางหลังจุดนี้ รถประเภทอื่นห้ามขับเข้าไปในช่องเดินรถประจำทางหลังจุดนี้
เส้นแนวหยุด
(เส้นขวางถนน เป็นเส้นทึบสีขาว ขนาดกว้าง 40 เซนติเมตร)
ให้ผู้ขับรถหยุดรถก่อนถึงแนวเส้นขวางทุกครั้งเพื่อดูจังหวะรถว่างหรือรอให้คนข้าม ในทางข้ามข้างหน้าผ่านไปก่อนเมื่อปลอดภัยจึงขับรถผ่านไป
เส้นให้ทาง
(เส้นขวางถนน เป็นเส้นประสีขาว ขนาดกว้าง 40 เซนติเมตร ยาว 60 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 30 เซนติเมตร)
เป็นเส้นประสีขาวข้ามถนนให้ผู้ขับขี่ขับรถให้ช้าลง แล้วดูให้รถอื่นที่ออกจากทางร่วม หรือคนเดินเท้าในทางข้ามที่ขวางหน้าผ่านไปก่อน เห็นปลอดภัยแล้วจึงขับรถผ่านไป
เส้นทะแยงสำหรับทางแยก
(เป็นเส้นทึบสีเหลืองขนาดกว้าง 15 เซนติเมตร ลากทแยงตัดกันทำมุม 45 องศา ห่างกัน 200 เซนติเมตร ภายในกรองเส้นทึบสีเหลือง ขนาดกว้าง 20 เซนติเมตร )
เป็นเส้นทึบสีเหลืองลากทะแยงมุม ห้ามหยุดรถทุกชนิดภายในกรอบเส้นทะแยงนี้

เครื่องหมายลูกศรบนพื้นถนน

ลูกศรตรงไป
ผู้ขับในช่องที่มีลูกศรนี้ต้องขับตรงไป ห้ามขับเลี้ยวซ้าย หรือขวา
ลูกศรเลี้ยวซ้าย
ผู้ขับในช่องที่มีลูกศรนี้ต้องขับเลี้ยวซ้าย ห้ามขับตรงไปหรือเลี้ยวขวา
ลูกศรเลี้ยวขวา
ผู้ขับในช่องที่มีลูกศรนี้ต้องขับเลี้ยวขวา ห้ามขับตรงไปหรือเลี้ยวซ้าย
ลูกศรเลี้ยวซ้ายกับเลี้ยวขวา
ผู้ขับในช่องที่มีลูกศรนี้ต้องเลี้ยวขับซ้ายหรือเลี้ยวขวา ห้ามขับตรงไป
ลูกศรตรงไป หรือเลี้ยวซ้าย
ผู้ขับในช่องที่มีลูกศรนี้ต้องขับตรงไปหรือเลี้ยวซ้าย ห้ามขับเลี้ยวไปทางขวา
ลูกศรตรงไป หรือเลี้ยวขวา
ผู้ขับในช่องที่มีลูกศรนี้ต้องขับตรงไปหรือเลี้ยวขวา ห้ามขับเลี้ยวไปทางซ้าย
ลูกศรตรงไปและเลี้ยวซ้าย หรือเลี้ยวขวา
ผู้ขับในช่องที่มีลูกศรนี้ต้องขับตรงไปหรือเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา
ลูกศรเลี้ยวกลับ
ผู้ขับในช่องที่มีลูกศรนี้ต้องกลับรถไปใช้ช่องทางในทิศทางจราจรตรงข้าม
ห้ามขับตรง หรือเลี้ยวซ้าย (ต้องดูความปลอดภัยในรถที่สวนมาทางจราจรตรงข้ามเมื่อปลอดภัยจึงกลับรถได้)

สีบนขอบทาง(ขอบฟุตบาท)

เส้นขอบทาง
สีฟุตบาทขาวดำ เป็นเส้นขอบทางสีขาวสลับกับสีดำ เมื่อไหร่ก็ตามที่เห็นสีฟุตบาทขาวดำบนถนนทางหลวง ให้รู้เลยว่าเป็นการทำสัญลักษณ์เอาไว้ให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเห็นขอบทางแบบง่ายและชัดเจน ว่าที่ตรงนี้คือขอบทางของถนน ให้ลดความเร็ว หรือระวังอุบัติเหตุ
เส้นห้ามหยุดหรือจอดรถ
สีฟุตบาทขาวแดง หมายถึงว่า ห้ามจอดรถ ห้ามหยุดรถ ห้ามจอดแช่ ห้ามจอดรถรับส่ง รวมไปถึงการโบกให้รถแท็กซี่ รถประจำทาง รถตู้ หรือรถมอเตอร์ไซค์ให้จอดด้วย
เส้นห้ามจอดเว้นแต่หยุดรับส่งชั่วขณะ
สีฟุตบาทขาวเหลือง สามารถหยุดรถได้ แต่ในระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น เช่น หยุดรถเพื่อส่งผู้โดยสารชั่วคราว เมื่อเสร็จแล้วก็ไป แต่ห้ามจอดทิ้งไว้หรือจอดข้ามคืน ซึ่งคำว่าจอดกับหยุดไม่เหมือนกันครับ ในกรณีนี้หยุดได้แต่ห้ามจอด
เส้นชะลอความเร็ว
คือเส้นนูน ๆ ที่ตีถี่ ๆ บนถนนบางจุด มีไว้เพื่อเตือนให้ผู้ขับขี่ได้ระมัดระวังและเตรียมลดความเร็ว ชะลอความเร็วลง เพื่อรับมือกับสิ่งที่จะเจอตรงทางข้างหน้า เช่น ทางโค้ง สะพาน ทางลาดเอียง หรือลูกระนาด